วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วิธีการ เช็คประกัน samsung โดยใช้ serial number ของเครื่อง (2019)

 สวัสดีครับ โพสนี้ผมขอทิ้งข้อมูล วิธีการเช็คประกันโทรศัพท์มือถือ samsung เอาไว้ให้ท่านๆ ดูกันง่ายๆ นะครับ โดยก่อนอื่นนั้น เราต้องรู S/N ของเครื่องหรือเรียกอีกอย่างว่า "Serial" (ซีเรียลนัมเบอร์)

ซึ่งไอ้เจ้า Serial เนี่ย ดูง่ายสุดเลยคือกล่องครับ ลองดูภาพด้านล่างได้เลย


ตารางประกันมือถือ samsung

นำเลขสองหลัก จาก ซีเรียลนัมเบอร์ ของมือถือคุณ มาดูที่ตารางนี้ได้เลยครับ แล้วจะรู้ได้ทันทีว่า มือถือ samsung ของเราหมดประกันวันไหน ตามตัวอย่างคือ  K3 ตามตารางจะหมดประกันวันที่ 31 พฤษภาคม 2019 นั่นเองครับ *หากใครไม่ทราบวิธีดูตาราง สามารถอ่านวิธีการเช็คได้ด้านล่างนะครับ

Serial Numberเริ่มต้นประกัน (เริ่มวันที่ 1)หมดประกัน (สิ้นเดือน)
K1มกราคม 2018มีนาคม 2019
K2กุมภาพันธ์ 2018เมษายน 2019
K3มีนาคม 2018พฤษภาคม 2019
K4เมษายน 2018มิถุนายน 2019
K5พฤษภาคม 2018กรกฎาคม 2019
K6มิถุนายน 2018สิงหาคม 2019
K7กรกฎาคม 2018กันยายน 2019
K8สิงหาคม 2018ตุลาคม 2019
K9กันยายน 2018พฤศจิกายน 2019
KAตุลาคม 2018ธันวาคม 2019
KBพฤศจิกายน 2018มกราคม 2019
KCธันวาคม 2018กุมภาพันธ์ 2019
มือถือ ปี 2017 - 2018
J1มกราคม 2017มีนาคม 2018
J2กุมภาพันธ์ 2017เมษายน 2018
J3มีนาคม 2017พฤษภาคม 2018
J4เมษายน 2017มิถุนายน 2018
J5พฤษภาคม 2017กรกฎาคม 2018
J6มิถุนายน 2017สิงหาคม 2018
J7กรกฎาคม 2017กันยายน 2018
J8สิงหาคม 2017ตุลาคม 2018
J9กันยายน 2017พฤศจิกายน 2018
JAตุลาคม 2017ธันวาคม 2018
JBพฤศจิกายน 2017มกราคม 2018
JCธันวาคม 2017กุมภาพันธ์ 2018
มือถือ ปี 2016 - 2017
H1มกราคม 2016มีนาคม 2017
H2กุมภาพันธ์ 2016เมษายน 2017
H3มีนาคม 2016พฤษภาคม 2017
H4เมษายน 2016มิถุนายน 2017
H5พฤษภาคม 2016กรกฎาคม 2017
H6มิถุนายน 2016สิงหาคม 2017
H7กรกฎาคม 2016กันยายน 2017
H8สิงหาคม 2016ตุลาคม 2017
H9กันยายน 2016พฤศจิกายน 2017
HAตุลาคม 2016ธันวาคม 2017
HBพฤศจิกายน 2016มกราคม 2017
HCธันวาคม 2016กุมภาพันธ์ 2017

วิธีการ เช็คประกัน Samsung จากตารางด้านบน

 




ภาพ - Serial Number ข้างกล่องมือถือ samsung

 

ตามภาพด้านบน ให้เราดูตัวเลขที่มี RF นำหน้านะครับ ในภาพจะได้ Serial คือ RF8K33HMKKV ให้เรานำอักษรตัวที่ 4 และ 5 มาแค่นั้นครับ คือ K3 นั่นเอง แต่บางคนอาจจะไม่มีกล่อง ก็สามารถเข้าไปดูในเครื่องได้เลยครับ โดยให้ไปที่ ไอ้คอนรูปเฟือง(Setting) -> ปัดไปล่างสุดแตะที่ เกี่ยวกับโทรศัพท์ -> สถานะ แล้วจะเห็นหัวข้อที่เขียนว่า ซีเรียลนัมเบอร์ เลขชุดนี้จะเป็นเลขเดียวกันกับกล่องครับ และจะเป็นตัวที่เราสามารถนำไป เช็คประกัน โทรศัพท์ของเราได้ครับ ตามภาพด้านล่าง




ภาพ - ดู serial number ในเครื่อง samsung

 

 

สุดท้าย แจ้งให้ทราบ เกี่ยวกับวันสิ้นสุดการรับประกัน

วิธีการการเช็คประกัน samsung แบบนี้ ก็ไม่ได้ถูกต้อง 100% นะครับ เป็นการเช็คคร่าวๆ เท่านั้นครับ โดยที่วันเริ่มต้นเป็นวันที่สินค้าออกจำหน่ายเท่านั้นครับ ซึ่งจริงๆ แล้ววันหมดประกันอาจจะมากกว่าที่เราเช็คก็ได้นะครับ เพราะต้องนับจากวันที่ซื้อจริงๆ ตามใบเสร็จ + ไปอีก 1 ปี ตามตารางในบทความนี้ก็ตีไปว่า ขั้นต่ำสุดของระยะเวลาการรับประกัน ก็แล้วกันครับ

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เมื่อปลั้กอิน UpdraftPlus แบ็คอัพข้อมุลไม่ได้

 หากใครที่ใช้ wordpress ก่อนจะอัพเดทปลั๊กอิน หรืออัพเดทเวอร์ชั่น word press ต่างๆ นั้น บางคนก็ต้อง backup กันพลาดไว้ก่อนละครับ ผมเลยมาใช้ปลั้กอิน UpdraftPlus ตัวนี้ละครับ ใช้ง่ายดี กดปุ่ม Backup ก็จัดการสำรองข้อมูลให้แล้วครับ แต่เหตุมันเกิดตรงที่ ทิ้งไว้ตั้งนานมาดูอีกที ขึ้นมาว่า


"updraft The backup attempt has finished, apparently unsuccessfully"


ปลั้กอิน updraftplus



อ่าวเฮ้ย ไม่เหมือนที่รีวิวกันไว้นี่หว่า!! ทำซ้ำอีกสองรอบ ก็เป็นอย่างนี้สองรอบเลย เสียเวลาชีวิตสุดๆ ครับ เลยลองมาค้นหาข้อมูลดู เลยเจอวิธีนี้ครับ ให้แก้ที่


  • ไปที่แถบ Setting
  • กด Show Expert Setting
  • ตรง Split archives every: ให้เปลี่ยนเลขจาก 400 เป็น 25 ครับ
  • กดปุ่ม Save Changed

วิธีแก้ไข updraftplus แบ็คอัพไม่ผ่าน



แค่นี้แล้วก็ลองแบคอัพใหม่ เท่านี้ก็หายแล้วครับ ส่วนสาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ เห็นว่ากันว่า เพราะมันโหลดทีละ 400MB บางทีมันอาจเกิดการ TimeOut อะไรต่างๆ นาๆ เทือกๆ นี้.. (อย่าไปรุ้มันเลยครับ) เลยต้องเปลี่ยนเป็นอัพโหลดแบบย่อยๆ ทีละ 25MB ก็พอครับ เผื่อใครเจอแบบผม หลงมาอ่านจะได้ไม่ต้องหาข้อมูลครับ แปะไว้กันลืม...

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ใกล้ หมดยุค เว็บ ecommerce และ หมดยุค แอดมินกลุ่ม facebook ซะแล้ว

ที่บอกมาไม่มีอะไรเกินจริงเลยครับ ช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ หากใครต้องการขายสินค้าออนไลน์กัน ก็ง่ายๆ เลยครับ เปิดเว็บมาสักเว็บ ไม่ว่าจะจ้างทำ หรือใช้บริการเว็บแพลทฟอร์ม (สมัยก่อนๆ ) หลายเจ้า ฯลฯ จะไม่ขอกล่าวถึงเจาะจงนะครับ หรือบางท่านหากมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์มาหน่อย ก็ใช้พวก wordpress ก็ใช้ขายของได้ดีอยู่ครับ

จากนั้น เมื่อทำเว็บไซต์ขายของกันเสร็จแล้ว ก็กระหน่ำโพสสินค้าที่ลงขายไปยัง facebook หรือตามโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อทำให้คนเห็นสินค้า บางคนทำ seo เป็น ก็สามารถทำให้ติด google หน้าแรกได้ไม่ยาก สรุป เมื่อก่อนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ขายของกันผ่าน

  1. เว็บสำเร็จรูป ที่เปิดให้บริการ ฟรี/เสียเงิน หรือ ทำเว็บเอง 
  2. ไม่ต้องมีเว็บไซต์ ลงตามกลุ่มในเฟสต่างๆ แล้วขายผ่าน admin เอา

กลุ่มทำเว็บขายของเอง
ส่วนพวกทำเว็บขายของ ก็โปรโมทตามสื่อต่างๆ ไม่ต้องบอกเลยคือ facebook น่าจะรู้กันอยู่แล้วใช่ไหมละครับ เฟสบุ๊คสมัยก่อนหน้านั้น ไม่ค่อยปิดกั้นการมองเห็นครับ โพสทีเห็นเป็น พันๆ หมื่นๆ คืน ถ้าราคากับสภาพสินค้าไม่เลวร้ายจนเกินไปนัก ยังไงก็สามารถปิดการขายได้ครับ หรือบางคนถนัด seo ทำให้สินค้าขึ้นหน้าแรกได้ ก็สบายเลยครับ ขายได้แน่นอน

กลุ่มแอดมินตาม group facebook
ยุคนั้นส่วนใหญ่จะประมาณนี้นะครับ เล่าถึงเรื่องกลุ่มเฟสบุ๊คก่อน แต่ละกลุ่มที่ค้าขาย ส่วนมากหน้าปกก็จะมีคำพูดประมาณว่า "ไม่โอนผ่านแอด โกงแน่นอน"  "ผ่านแอด ชัวร์สุด" ฯลฯ (ซึ่งผ่านแอดมินจะมีค่าธรรมเนียม จะเท่าไรก็แล้วแต่แอดกลุ่มนั้นๆ ) อะไรทำนองนี้ น่าจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วนะครับ ซึ่ง ณ ขณะนั้น ผมว่า แอดมินหลายๆ กลุ่มนี่อิ่มหนำสำราญกับค่าส่วนต่างที่สมาชิกในกลุ่ม ซื้อขายกันโอนผ่านแอดมินกลุ่มนั้น ไม่มากก็ไม่น้อยละครับ... และลูกค้าหลายๆ คนก็เชื่อใจแอดมินกว่าคนขายอยู่แล้วล่ะครับ

"ซึ่งขอบอกเลยนะครับว่า ทั้งสองแบบด้านบนที่ผมกล่าวมา ก็ยังมีการโกงกันเกิดขึ้น เยอะมากๆ มากๆๆๆ และโคตรมากๆๆๆๆ นั่นละครับ อยู่ที่ดวงคนซื้อ และความรอบคอบล้วนๆ"
10 อันดับเว็บ e-commerce ไทย



พอมาปัจจุบัน (2018 - 2020)
ทุกอย่างมีขึ้น ต้องมีลงครับ ไม่มีอะไรในโลกที่ไม่เปลี่ยนแปลง การเข้ามาของ อีคอมมริ์ซ เจ้าใหญ่ๆ อย่างประเทศไทย ที่นิยมมากๆ ยกตัวอย่างอย่างเช่น Lazada  และ Shopee นั้น ณ วันนี้เป็นที่นิยมมากๆ ครับ (คือมันมีนานแล้วละ แต่นิยมกับพี่ไทย ในช่วงหลังๆ มากๆ เลยครับ ติดลมบนไปเรียบร้อยแล้ว) ซึ่งตัวระบบ มีการการันตีเงินคืน หากไม่ได้สินค้า มีการให้คะแนนร้านค้า มีการรีวิวที่ดูดีอ่านง่าย อวยกันเองยาก แยกได้ว่าคนรีวิวคนนี้ ซื้อไปจริงๆ แล้วค่อยรีวิว ฯลฯ และอีกอย่างนึงเลยที่สัมผัสได้เลยคือ Facebook เดี๋ยวนี้ ลงโพสขายของไม่ค่อยมีคนเห็นแล้วครับ 

"พอเปลี่ยนมาเป็นพวก เจ้าใหญ่ๆ ผู้ขายต้องมีหลักฐาน บัตรประชาชน ที่อยู่ เลข บัญชี ฯลฯ เลยทำให้มีการโกงกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่จะต้องดูเลยเหลือแค่คุณภาพสินค้ามากกว่าครับ"

ถึงตรงนี้แล้ว ผมไม่ได้มาอวย พวก ช้อปปี้ ลาซาด้า หรือพวก Powerbuy shop24 ฯลฯ นะครับ แต่ผมแค่บอกตามความรู้สึกของผมเอง ทุกๆ วันนี้ ถ้าผมอยากซื้อของ ผมมั่นใจพวกนี้มากกว่า คนในเฟสมาขายเอง / เว็บไซต์ขายของทั่วๆ ไป / แอดมินกลุ่มขายของในเฟสต่างๆ แน่นอนครับ อย่างน้อย หากของมาไม่ดี ผมก็สามารถทำเรื่องคืนเงินได้ ของไม่มาผมร้องเรียนได้ เพราะผมเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว พวกที่เปิดร้านขายของในนั้น ไม่อยากเสียชื่อเสียง หรือไม่อยากโดนแบนกับสินค้าที่มีปัญหากับลูกค้าเพียงเจ้าเดียวหรอกครับ


ยังไงหากใครยังขายของตามเว็บ และขายผ่านกลุ่มเฟส แล้วยังปังอยู่ (มาสอนกรูบ้าง 555) ก็ขออภัย ณ ที่นี้ไว้ด้วย อันนี้คือเหตุผลส่วนตัวผมล้วนๆ ครับ สวัสดี...